Posted on Leave a comment

วิธีรักษาอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยคนส่วนมากคิดว่าอาการปวดหลังนี้จะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ แต่แท้ที่จริงแล้วอาการปวดหลังสามารถเกิดได้กับคนทุกคน สาเหตุในการเกิดอาการปวดหลังอาจเกิดจากโรคต่างๆ หรือการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น ท่านั่ง การเดิน ท่ายืน และท่านอน

สาเหตุของที่แท้จริงของอาการปวดหลังที่เกิดได้กับคนทุกคน มาจากข้อมูลดังนี้

1.ท่ายืน

เกิดจากการมีน้ำหนักตัวมากเกินไปไม่สมกับส่วนหรือมีเดินหลังแอ่น แท้แต่การใส่รองเท้าส้นสูงหรือการยืนในท่าทางที่ทำให้กระดูกสันหลังคด หรือยกของหนักในท่าที่ผิด

2.ท่านั่ง

เกิดจากการนั่งจากในท่าที่หลังงอ ไหล่ห่อ  หรือแม้แต่การนั่งเก้าอี้ที่มีความนุ่มจนเกินไปทำให้ลำตัวไม่ตรง หลังโค้ง  หรือนั่งกับพื้นในท่านั่งพับเพียบทำให้ลำตัวเอียงไม่เท่ากัน

3.การนอน

เกิดจากการนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน การนอนผิดท่า ส่งผลให้กล้ามเนื้อ กระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะคดงอนานๆ หรือเกิดจากการนอนบนที่นอนที่แข็งมากๆ

วิธีรักษาอาการปวดหลัง

วิธีรักษาอาการปวดหลัง

การรักษาโดยด้วยตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • พักผ่อนและพยายามมองโลกในแง่บวก การพักผ่อนเป็นส่วนสำคัญของการฟื้นฟูจากอาการต่าง ๆ ยิ่งกังวลก็อาจจะทำให้อาการหายช้าลง พยายามให้กำลังใจตัวเอง ผู้ที่มองโลกในแง่บวก มีแนวโน้มที่จะฟื้นฟูตัวเองจากอาการป่วยได้ดีกว่า
  • ปรับเปลี่ยนท่านอน การทำท่าเดิมนาน ๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง เช่น การนอนหงายเป็นเวลานานทำให้น้ำหนักของร่างกายไปกดลงที่กระดูกสันหลัง เพียงยกขาขึ้นและสอดหมอนไปใต้เข่า หรือนอนตะแคงแล้วใช้หมอนสอดไปที่ระหว่างขา จะสามารถช่วยลดน้ำหนักที่กดลง และบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดี
  • การประคบร้อนหรือประคบเย็น บางคนพบว่ามีอาการดีขึ้นหลังอาบน้ำอุ่นหรือเอาถุงน้ำร้อนมาประคบในบริเวณที่มีอาการ หรือการประคบเย็นโดยนำน้ำแข็งห่อด้วยผ้าแล้วนำมาประคบ ก็สามารถบรรเทาอาการได้เช่นกัน
  • ออกกำลังกาย บางครั้งสาเหตุของอาการเจ็บหลังมาจากการยืนหรือนั่งผิดท่า หรือยกของหนักเกินไป หลายคนคิดว่านอนพักอยู่บนเตียงจะสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า แต่การออกกำลังกายที่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางที่ถูกต้องและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อบริเวณหลัง จะสามารถบรรเทาอาการปวดได้ เช่น การว่ายน้ำ การเดินการปั่นจักรยาน การเล่นโยคะ การเล่นพิลาทิส การบริหารและการยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • ใช้อุปกรณ์เสริมการนอน หากฟูกหรือที่นอนแข็งเกินไป ควรหาฟูกหรือแผ่นรองนอนวางเสริมบนตัวที่นอน ช่วยปรับระดับความสมดุลให้กับการนอน

การรักษาโดยใช้ยา

  • การใช้ยาแก้ปวด ยาที่แพทย์มักจะจ่ายให้กับผู้ที่มีอาการปวดหลัง มีดังต่อไปนี้
    • ยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เช่น พาราเซตามอล ไทลินอล หรือยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโปรเฟน นาโปรเซน หรือยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่า ยาแก้ปวดถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตในผู้ป่วยบางรายได้ และเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
    • ยาคลายกล้ามเนื้อ ถ้ามีอาการปวดไม่มาก แพทย์อาจจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อให้รับประทาน แต่จะทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือง่วงนอนได้
    • ยาทาบรรเทาอาการปวด อาจอยู่ในรูปแบบครีมหรือขึ้ผึ้ง ใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวด
    • ยาแก้อาการซึมเศร้า เช่น ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) เพื่อบรรเทาอาการปวดที่หลังได้ โดยอาจไม่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า
    • ยาฉีด หากการใช้ยาบรรเทาอาการปวดรูปแบบอื่น ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์เข้าที่บริเวณรอบ ๆ เส้นประสาทไขสันหลัง หรือในบริเวณที่ปวด ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบรอบเส้นประสาทไขสันหลังได้

การรักษาโดยการผ่าตัด

  • การผ่าตัด ใช้รักษาอาการปวดหลังจากบางสาเหตุ เช่น การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง หรือปวดหลังที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทจนมีอาการอ่อนแรงที่ขาร่วมด้วย โดยทั่วไปมักจะเป็นทางเลือกท้าย ๆ  เมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่มีอาการดีขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดหลังในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย การผ่าตัดอาจช่วยลดการกดทับของเส้นประสาท แต่ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังผ่าตัด ในกรณีเส้นประสาทที่อยู่ใกล้กับกระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย อาจส่งผลให้เกิดการอ่อนแรงที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง และอาจเป็นอัมพาตได้ในผู้ป่วยบางราย ทั้งนี้วิธีการผ่าตัดขึ้นอยู่กับชนิดและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย

การรักษาโดยการแพทย์ทางเลือก

  • ไคโรแพรคติก (Chiropractic) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการดูแลสุขภาพ สรีระและโครงสร้างของมนุษย์ เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยาและไม่มีการผ่าตัด มุ่งเน้นไปที่การจัดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังโดยใช้มือ อาจได้ยินเสียงที่เกิดจากแก๊สบริเวณข้อต่อ ซึ่งเป็นปกติของการรักษาด้วยวิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังหรือปวดคอจากการเคล็ดขัดยอกตอนยกของหนักเกินไป และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน หรือโรคไขข้ออักเสบ แต่การรักษาด้วยวิธีการนี้ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนว่าอาการปวดหลังส่วนใหญ่มาจากปัญหาของแนวกระดูกสันหลัง
  • การฝังเข็ม เป็นศาสตร์การรักษาทางเลือกรูปแบบหนึ่งของจีนโบราณ โดยจะฝังเข็มที่มีขนาดและความยาวแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วย ฝังลงไปตามจุดฝังเข็มที่ถูกพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟินส์ (Endrophins) เพื่อบรรเทาอาการปวด โดยจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 20-40 นาทีต่อครั้ง ในปัจจุบัน การรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มยังไม่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันหรือสนับสนุนว่าสามารถรักษาโรคได้ 100%
ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *